K & S Associates

川島 & スワンモントリー アソシエイツ

วิเคราะห์สถานการณ์เครษฐกิจ สังคม และการเมืองเอเชียเป็นภาษาไทยด้วยมุมมองจากญี่ปุ่น สำหรับคนไทยโดยเฉพาะ

ไทยเจอ “กับดัก” ระหว่างทางพัฒนา

    พศ.2555 ประเทศไทยมี GDP เฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 5480 เหรียญสหรัฐฯ การที่ประเทศไทยได้เป็นสมาชิกกลุ่มประเทศ G20 ที่มีสหรัฐฯเป็นผู้นำแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยผ่านการพัฒนามาเกินครึ่งทางแล้ว แม้ว่าจะเจอวิกฤติเศรษฐกิจจนเศรษฐกิจชะงักไปครั้งหนึ่ง แต่หลังจากเข้าสู่คริสตศตวรรษที่21มาก็กลับเติบโตอย่างรวดเร็วอีกครั้ง อีกเพียงไม่กี่ก้าวประเทศไทยก็จะกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วก็ดันเกิดวิกฤติทางการเมืองจนได้ เรียกได้ว่าเป็น “กับดักการพัฒนาประเทศ”

                   ประเทศมหาอำนาจทั้งหลายใช้วิธีนำเงินไปลงทุนในประเทศกำลังพัฒนาต่างๆเพื่อจะได้ต้นทุนการผลิตที่ต่ำเช่นค่าแรง ประเทศกำลังพัฒนาก็ได้ประโยชน์จากการลงทุนของต่างชาติคือได้ความรู้และเทคโนโลยีทำให้เศรษฐกิจประเทศตนเจริญเติบโตขึ้นด้วย โดยเฉพาะเศรษฐกิจไทยที่ก้าวกระโดเต็มที่โดยไม่จำเป็นต้องคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆเองจนอาจลืมนึกถึงสิ่งที่ต้องสูญเสียไปเช่นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความเท่าเทียมกันทางรายได้ เป็นต้น

                   ภาคอุตสาหกรรมและการบริการในประเทศไทยเพิ่มขึ้นควบคู่กับการเติบโตเศรษฐกิจ ภาคส่วนเหล่านี้ก็กระจุกตัวกันอยู่แต่ในเมืองทำให้คนในชนบทต่างหาทางเข้าเมืองเพื่อทำงานซึ่งก็เจอข้อเสียเปรียบต่างๆ ทั้งโอกาสทางการศึกษาน้อยกว่าต้องไปเช่าที่อยู่อาศัยทำให้โอกาสเพิ่มฐานะยาก ในการที่จะให้ประเทศไทยก้าวข้ามไปสู่ประเทศพัฒนาแล้วได้นั้น จำเป็นต้องให้ความสำคัญประชาชนในชนบทภาคเกษตรกรรมด้วย ทั้งเรื่องคุณภาพชีวิตและโอกาสทางการศึกษาให้เท่าเทียมกับคนในเมือง ซึ่งประเทศไทยได้เพิกเฉยต่อเรื่องนี้มาตลอดทางจึงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น ประเทศที่ประสบวิกฤติทางการเมืองไม่ได้มีเพียงแค่ประเทศไทย หลายๆประเทศในทวีปอเมริกาใต้ก็ประสบปัญหาเดียวกันไม่มีผิด ในสมัยการแข่งขันโอลิมปิดที่กรุงโตเกียว (คศ.1964) เม็กซิโกมีการพัฒนาประเทศพอๆกับญี่ปุ่นและมีทีท่าว่าจะนำหน้าญี่ปุ่นด้วยซ้ำ แต่ด้วยความที่เม็กซิโกพัฒนาประเทศโดยทอดทิ้งชาวเกษตรกรไว้ข้างหลัง ความเหลื่อมล้ำทางสังคมนี้เองทำให้เกิดรัฐบาลประชานิยม ผลาญคลังอย่างฟุ่มเฟือยและทุจริตต่างๆนานาตามมา อาร์เจนตินาและบราซิลก็ประสบปัญหาทำนองเดียวกัน

                   ผู้เขียนเห็นว่าการปฏิรูปเพียงระบบการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาการเมืองได้เลย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฎิรูป “ความเหลื่อมล้ำทางสังคม”ควบคู่ไปด้วย ทั้งเรื่องคุณภาพชีวิต โอกาสทางการศึกษาและการงานอาชีพ ซึ่งเป็นทางเดียวที่จะทำให้ประเทศไทยหลุดออกจากกับดักการพัฒนานี้ได้ หากรัฐบาลสมัยต่อไปยังเพิกเฉยต่อการแก้ไขความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจและสังคม อุ้มแต่กลุ่มคนรวยมีการศึกษาต่อไปแล้ว อาจทำให้สถานการณ์ในอนาคตเลวร้ายกว่าทุกวันนี้ก็เป็นได้