K & S Associates

川島 & スワンモントリー アソシエイツ

วิเคราะห์สถานการณ์เครษฐกิจ สังคม และการเมืองเอเชียเป็นภาษาไทยด้วยมุมมองจากญี่ปุ่น สำหรับคนไทยโดยเฉพาะ

พื้นที่เกษตรกับการพัฒนาเศรษฐกิจในเอเชีย

 

ทวีป เอเชียมีประชากรถึงครึ่งหนึ่งของประชากรโลกแต่มีพื้นที่ทวีปเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทวีปทั้งหมด จึงไม่แปลกใจที่ทวีปเอเชียมีความหนาแน่นประชากรสูง และตั้งแต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียได้เริ่มขึ้น ตัวเมืองต่างๆได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วเพราะผู้คนต่างย้ายถิ่นเข้ามาปักหลักใน เมือง โดยส่วนมากเป็นผู้ที่ยังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ด้วยเหตุการศึกษาและการหางาน ซึ่งเห็นได้ชัดในเมืองใหญ่อย่างปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กรุงเทพ ฯลฯ

 

ตัว เมืองใดก็ตามที่ขยับขยายย่อมส่งผลให้ที่ดินชานเมืองรอบๆราคาดีขึ้น ทำให้การขายที่ดินเกษตรดั้งเดิมระแวกนั้นกลายเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับคนเมือง ย่อมได้ผลตอบแทนงดงามกว่าการดำรงที่ดินเกษตรไว้หลายเท่า หรือบางทีถึงหลายสิบเท่า สิ่งเหล่านี้ย่อมกระทบต่อทิศทางการเติบโตเศรษฐกิจ ดังนั้นการวิเคราะห์เศรษฐกิจของประเทศไทยหรือประเทศจีนก็ตามจำเป็นต้องมี ความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างที่ดินกับเศรษฐกิจควบคู่ไปด้วย ประเทศญี่ปุ่นเองก็ประสบกับการที่ประชากรในเมืองเพิ่มอย่างรวดเร็วเมื่อ ประมาณปี 2493จึงนับเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้

 

ก่อน สงครามโลกครั้งที่2 พื้นที่การเกษตรทั้งหลายในญี่ปุ่นจะมีเจ้าของที่ดินถือกรรมสิทธิ์อยู่แล้ว ให้ชาวนาเช่าเพื่อทำการเกษตร ซึ่งหากความเจริญจากตัวเมืองแผ่ไปถึงที่ใดก็เหมือนฟ้าประทานพรแก่เจ้าของที่ เหล่านั้น แต่เหตุการณ์ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลยเพราะหลังสงครามโลกครั้งที่2ได้มีการ ปฏิรูปที่ดินครั้งใหญ่โดยสำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำให้เกษตรกรเกือบทั้งประเทศมีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง (โดยมากไม่เกิน 1หมื่นตารางเมตร)  ช่วง เวลานั้นเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ตัวเมืองขยับขยายและราคาที่ดินชานเมืองพุ่ง ขึ้น ชาวไร่ชาวนาที่ขายที่ดินเกษตรหลายคนก็กลายเป็นผู้มีอันจะกินในช่วงปี 2503 แต่ก็ไม่ได้ร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีเหมือนที่เกิดขึ้นในประเทศอื่น

 

ดัง นั้นการปฏิรูปที่ดินนี้เองที่ทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศที่มีความเหลื่อม ล้ำทางรายได้ต่ำมากเป็นอันดับต้นๆของโลกทุกวันนี้ แล้วประเทศจีนที่ปรากฎความเหลื่อมล้ำทางรายได้ให้เห็นทุกวันนี้ มีสาเหตุมาจากอะไร จะเกี่ยวข้องกับเรื่องการขายที่ดินเกษตรหรือไม่นั้น โปรดติดตามฉบับต่อไป

 

** นอกจากเรื่องเศรษฐกิจจีนแล้ว เรายังวิเคราะห์อนาคตเศรษฐกิจไทยด้วย หากท่านใดมีข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือมีความสนใจที่จะให้เราวิเคราะห์เรื่องใดเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทย การปฏิรูปที่ดิน ราคาที่ดินชานเมือง ฯลฯ สามารถติดต่อเราได้ที่ kawashima.associates[at]yahoo.comหรือที่ด้านล่างนี้