K & S Associates

川島 & スワンモントリー アソシエイツ

วิเคราะห์สถานการณ์เครษฐกิจ สังคม และการเมืองเอเชียเป็นภาษาไทยด้วยมุมมองจากญี่ปุ่น สำหรับคนไทยโดยเฉพาะ

พื้นที่เกษตรกับการพัฒนาเศรษฐกิจในเอเชีย 2 (รัฐบาลจีนกับธุรกิจที่ดิน)

ฉบับวันที่ 16 กรกฎาคม 2556

 

 

  ราคาที่ดินถูกๆในพื้นที่เกษตรนอกตัวเมืองย่อมมีราคาสูงขึ้นได้ถ้าการคมนาคม เช่นรถไฟใต้ดินไปถึง ดูเหมือนจะเป็นโอกาสดีสำหรับนักเก็งกำไรที่ดินที่จะรีบซื้อตั้งแต่ยังราคา ถูกและรอขายเมื่อสถานีใกล้ๆที่นั้นสร้างเสร็จแล้ว แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไปเพราะราคาที่ดินมักพุ่งขึ้นทันที ตั้งแต่มีข่าวว่าจะสร้างรถไฟใต้ดินระแวกนั้น มีเพียงประเทศจีนเท่านั้นที่ทำกำไรได้อย่างงดงามจากการพัฒนาคมนาคม เพราะพื้นที่เกษตรทั้งหมดเป็นกรรมสิทธ์ของรัฐบาลและให้เกษตรกรเช่าเพื่อทำ การเกษตร และรัฐบาลกำหนดเขตที่จะสร้างได้ตามใจชอบ ค่าชดเชยจำนวนเล็กน้อยก็สามารถเวนคืนได้ และเมื่อสร้างเสร็จก็สามารถขายต่อแพงๆได้ และนำกำไรที่ท่วมท้นนั้นไปสร้างในเขตอื่น ทำให้รัฐบาลท้องถิ่นจีนนำเงินกำไรแทบไม่ทัน

 

               ประเทศ ไทยและญี่ปุ่นนั้น กรรมสิทธ์พื้นที่เกษตรเป็นของเกษตรกรไม่ใช่ของรัฐบาล การเวนคืนที่ดินจึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการสร้างทางรถไฟ และค่าชดเชยย่อมสูงเป็นธรรมดา ด้วยเหตุนี้เมื่อรัฐบาลมีเงินทุนไม่พอ ก็ต้องออกธนบัตรรัฐบาลเพื่อนำเงินมาสร้าง ญี่ปุ่นเองก็มีหนี้รัฐบาลถึง 2 เท่าของ GDP ก็เพราะสาเหตุนี้ส่วนหนึ่ง ในขณะที่รัฐบาลจีนสามารถลงทุนสร้างไม่หยุดหย่อนด้วยการเวนคืนที่ง่ายดาย

 

              เบื้องหลังการพัฒนาที่สวยหรูของจีนนั้นมีคอร์รัปชั่นแทรกซึมอยู่ทุกที่ก็ว่าได้ นายป๋อซีไหล (Bo Xilai) ที่ถูกปลดจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สาขามหานครฉงชิ่งจากการพบบัญชี ต้องสงสัยกว่า 1ล้านล้านเยน ที่มาที่ไปของเงินเหล่านี้คงหนีไม่พ้นเรื่องที่ดินอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามการหมุนเงินอย่างสนุกสนานได้จบลงแล้ว เมื่อพื้นที่ชนบทเหลือแต่ที่ที่แม้สร้างอะไรก็ขายได้ราคาไม่ดีนัก จึงต้องหาวิธีปกปิดเงินโกงด้วยวิธีต่างๆนานา เห็นได้จากข่าวนายป๋อซีไหล

 

               จีน ได้สร้างฟองสบู่ขนาดใหญ่ไว้ด้วยกำไรจากธุรกิจที่ดินนี้เองภายในเวลาเพียง 20ปี ผลกระทบหลังฟองสบู่จีนแตกคือการเข้าสบู่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและไร้เสถียรภาพ ยิ่งกว่าที่ญี่ปุ่นเคยเจอเป็นแน่ แล้วประเทศไทยจะทำอย่างไรกับเศรษฐกิจภาคส่งออกไปจีนที่มีมูลค่าถึง 27.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐตั้งแต่ปี 2544 เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบอย่างมากถ้าการส่งออกสินค้าไปจีนย่ำแย่ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศไทยจะคิดหาวิธีรับมือกับเสียง “โพล๊ะ” นี้