K & S Associates

川島 & スワンモントリー アソシエイツ

วิเคราะห์สถานการณ์เครษฐกิจ สังคม และการเมืองเอเชียเป็นภาษาไทยด้วยมุมมองจากญี่ปุ่น สำหรับคนไทยโดยเฉพาะ

ชะตากรรมเศรษฐกิจเอเชีย: ช่องว่างระหว่างเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม

ฉบับนี้พูดถึงปัจจัยหลักที่ทำให้ภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมไม่เท่าเทียมกัน สืบเนื่องจากฉบับที่แล้วซึ่งกล่าวถึงความไม่ยุติธรรมในระบบเลือกตั้งของญี่ปุ่น

              ไม่ว่าประเทาศใดในเอเชียย่อมมีพื้นฐานเศรษฐกิจแบบเกษตรกรรม และดำรงความเป็นเกษตรกรรมมาจนกระทั้งไม่นานมานี้ ประเทศไทยในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และประเทศญี่ปุ่นช่วงปฏิรูปการเมืองรัฐบาลเมจิ จึงได้เริ่มมีการปรับเปลี่ยนเป็นสังคมสมัยใหม่ (modernization) ตามประเทศยุโรปตะวันตก ซึ่งญี่ปุ่นใช้เวลาไม่ถึง 50 ปี แปลงโฉมเป็นประเทศอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วเหมือนการหักพวงมาลัยเรือ ส่วนประเทศไทยใช้เวลาเพียง 20 ถือว่าเร็วกว่าญี่ปุ่นมาก

              ทันทีที่เข้าสู่วงจรการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ความเหลื่อมล้ำกับภาคเกษตรกรรมย่อมเกิดขึ้น เห็นได้จากวิถีชีวิตคนเมือง (โดยมากทำอาชีพอุตสาหกรรม) ที่พยายามเลียนแบบประเทศพัฒนาแล้ว ต่างจากวิถีคนชนบทที่ทำอาชีพเกษตรที่ไม่ค่อยจะเปลี่ยนแปลง มีอยู่หลายครั้งที่นักพัฒนาภาคเกษตรกรรมพยายามที่จะพัฒนาแข่งกับภาคอุตสาหกรรม แต่ไม่เคยมีตัวอย่างปรากฎให้เห็นที่ใดเลย นั่นเพราะต่อให้คนมีฐานะดีขึ้นแค่ไหนก็ไม่สามารถรับประทานมากขึ้นจนเกินขีดจำกัดร่างกายได้อยู่ดี ความเจริญเติบโตของธุรกิจภาคเกษตรจึงพึ่งการเพิ่มขึ้นของประชากรเป็นหลัก เพราะประชาชนมากขึ้นย่อมต้องการอาหารมากขึ้น อย่างไรก็ตามจำนวนประชากรญี่ปุ่นมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยซึ่งตามมาติดๆนั้น การเพิ่มประชากรก็เข้าใกล้ศูนย์เต็มที จึงไม่มีวี่แววว่าภาคเกษตรกรรมจะเติบโตขึ้นไปอีกได้

              ในทางตรงกันข้าม ภาคอุตสาหกรรมสามารถสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆมากระตุ้นความต้องการมนุษย์ได้ตลอดเวลา ตั้งแต่โทรทัศน์ เครื่องซักผ้า ตู้เย็น จักรยานยนต์ รถยนต์ จนถึงยุคของประดิษฐ์ฝ่ามือพวกโทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นเพลงต่างๆ การสรรหานวัตกรรมใหม่ๆนี้เองป็นตัวขับเคลื่อนได้ไม่สิ้นสุด การเติบโตในภาคนี้ปีละ 10 เปอร์เซนต์ก็ไม่น่าแปลก ความเหลื่อนล้ำทางรายได้จึงเห็นได้ชัดเจนภายในพริบตา

              ประเทศเอเชียทั้งหลายย่อมเกิดความเหลื่อมล้ำมาจากสาเหตุดังกล่าว หากไม่เข้าใจความเป็นไปของปัจจัยเหล่านี้ ย่อมไม่สามารถวิเคราะห์เศรษฐกิจและสังคมเอเชียอย่างถูกต้องและเป็นกลางได้ ส่วนปัญหาเมืองเสื้อเหลืองเสื้อแดงในประเทศไทยนั้น จะมีส่วนเหมือนกันหรือต่างกันกับระบบการเมืองญี่ปุ่นหรือไม่อย่างไร โปรดติดตามฉบับต่อไป