K & S Associates

川島 & スワンモントリー アソシエイツ

วิเคราะห์สถานการณ์เครษฐกิจ สังคม และการเมืองเอเชียเป็นภาษาไทยด้วยมุมมองจากญี่ปุ่น สำหรับคนไทยโดยเฉพาะ

ทางเลือกของนายคุโรดะ ผู้ว่าฯแบงค์ชาติ

    เนื่องจากได้รับคำแนะนำจากท่านผู้อ่านให้เขียนเรื่องนโยบายการเงินญี่ปุ่น ฉบับนี้จึงขออนุญาติวิเคราะห์ข่าวธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นซึ่งได้ประกาศเรียกซื้อตราสารหนี้เพิ่มเท่าตัว

              นโยบายต่างๆรวมทั้งนโยบายการเงินนี้เป็นหนึ่งในแผนการบริหารประเทศของผู้นำญี่ปุ่นคนปัจจุบัน นายชินโซ อาเบะ ภายใต้ศาสตร์ใหม่ชื่อ “อาเบโนมิกส์” ที่เป็นที่ถกเถียงอยู่ในขณะนี้ มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing: QE) ที่ถูกนำมาใช้โดยนายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นที่ได้ประกาศกล้าไปไม่นานมานี้ว่า “จะเพิ่มปริมาณเงินในเศรษฐกิจถึง 2 เท่าภายใน 2 ปี และจะให้เงินเฟ้อปีละ 2 เปอร์เซ็นต์” ไม่ใช่วิธีที่ถูกคิดค้นขึ้นใหม่แต่อย่างใด เป็นวิธีที่ถูกนำมาใช้ในหลายประเทศแล้ว ด้วยคิดว่าถ้ารัฐบาลถือตราสารหนี้แทนด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำๆ ธุรกิจต่างๆจะมีต้นทุนน้อยลงและดำเนินกิจการได้ดีขึ้น

              หลังจากเศรษฐกิจฟองสบู่ญี่ปุ่นได้แตกลงในช่วงปี ค.ศ.1990 ญี่ปุ่นได้ใช้มาตรการการเงินเชิงรับมาตลอด เช่นการลดอัตราดอกเบี้ย และได้รับบทเรียนว่ามาตรการนี้ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นเลย จึงมีฝ่ายที่เห็นด้วยกับการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีเชิงรุกแบบQEนี้อย่างผู้ว่าฯคนปัจจุบัน อย่างไรก็ตามฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย เช่น นาย มาซาอากิ ชิราคาวะ อดีตผู้ว่าแบงค์ชาติจากพรรค Democrat ญี่ปุ่น ได้ให้เหตุผลว่าญี่ปุ่นมีหนี้สาธารณะมากพอแล้ว และการถือตราสารหนี้เพิ่มมากกว่านี้ก็ไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นได้ หรือถ้าถือตราสารหนี้มากเกินไปอาจเกิดภาวะเงินเฟ้อเฉียบพลันที่ควบคุมไม่ไหว

              นายชินโซอาเบะผู้นำพรรค LDP (Liberal Democratic Party) รู้ใจประชาชนว่าเบื่อหน่ายกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวมายาวนานนี้เต็มที ได้ชนะการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรและดำเนินการเสี่ยงตายด้วยการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รุนแรงเช่นนี้ ทั้งๆที่รู้ว่ามีความเสี่ยงสูงก็ตาม ผลการปฏิบัติตามนายกฯ ของธนาคารชาตินี้ทำให้ค่าเงินเยนอ่อนลงจาก 80เยนต่อดอลลาร์ เหลือ 100เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ และยังทำให้ดัชนีหุ้นโดยรวมของญี่ปุ่นพุ่งขึ้นจาก 8000เยน เป็น 14000เยน

              อย่างน้อยที่สุดไม่มีใครปฏิเสธได้ว่ามาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง ประชาชนส่วนใหญ่ก็พอใจกับผลลัพธ์ และทำให้พรรค LDP ชนะการเลือกตั้งวุฒิสภาขาดรอยไปด้วย แม้กระนั้นก็ยังกล่าวไม่ได้ว่า “อาเบโนมิกส์”นี้จะยังคงผลที่งดงามเช่นนี้ต่อไปหรือไม่ ฉากสำคัญของ“อาเบโนมิกส์”จะเริ่มต่อจากนี้ต่างหาก ประเทศเกษตรกรอย่างญี่ปุ่นนี้จะเป็นอย่างไรต่อไปนั้น โปรดติดตามในฉบับหน้า