K & S Associates

川島 & スワンモントリー アソシエイツ

วิเคราะห์สถานการณ์เครษฐกิจ สังคม และการเมืองเอเชียเป็นภาษาไทยด้วยมุมมองจากญี่ปุ่น สำหรับคนไทยโดยเฉพาะ

ประเทศไทย...มิตรเดียวที่เหลืออยู่สำหรับญี่ปุ่น

    ในวันนี้เมื่อปี 1945 ( 15 สิงหาคม คศ.2488) สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะได้มีพระราชโองการผ่านทางวิทยุถึงการพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่2 ต่อมาจึงถือเป็นวันรำลึกการสิ้นสุดสงครามซึ่งแม้ในปัจจุบันรัฐบาลญี่ปุ่นยังเป็นเจ้าภาพจัดพิธีรำลึกถึงผู้เสียชีวิตระหว่างสงครามเป็นประจำทุกปี ส่วนที่ยังเป็นที่จดจำมาจนถึงชนรุ่นหลังจากพระราชโองการนั้นเห็นจะเป็นประโยคว่า “ขอจงยืนหยัดต่อไป ยืนหยัดแม้ที่จะอดทนต่อความเจ็บปวดและความลำบากทั้งหลาย”1 นอกจากนี้ใจความอีกส่วนหนึ่งยังกล่าวถึงการแสดงความรับผิดชอบต่อเหล่าประเทศพันธมิตรที่ได้ให้ความร่วมมือมาตลอด และที่แน่นอนคือ ประเทศไทยเองก็เคยตกลงร่วมเป็นประเทศพันธมิตรกับญี่ปุ่นภายใต้ขบวนการปลดปล่อยเอเชียในเดือนธันวาคม ปี1941 เพื่อต้องการกู้ดินแดนที่ถูกยึดโดยฝรั่งเศส ด้วยเห็นว่าฝรั่งเศสแพ้กองทัพนาซีเยอรมันและอ่อนแอลง แต่ในที่สุดประเทศไทยก็ไม่สามารถกู้ดินแดนส่วนที่สูญเสียไปคืนมาได้

              ระหว่างสงคราม ญี่ปุ่นต้องการขนเชื้อเพลิง (น้ำมัน) จากอินโดนีเซียกลับประเทศ จึงต้องการพันธมิตรในคาบสมุทรอินโดจีนรวมถึงฟิลิปปินส์เพื่อความราบรื่นในการลำเลียง ประเทศไทยจึงถือเป็นรัฐกันชนที่ดีจากอังกฤษที่มีมาเลเซียและพม่าเป็นอาณานิคม ทั้งไทยและญี่ปุ่นต่างมีวัตุประสงค์ของตนอยู่เบื้องหลังขบวนการพิทักษ์ความถูกต้องนี้ และในการประชุมวางแผนรบ ณ กรุงโตเกียว ปี 1943 ญี่ปุ่นก็ได้เชิญ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ มาเข้าร่วมประชุมด้วยทั้งๆที่ยังไม่ได้ลงนามสัญญา

              แม้ว่าจะผ่านเหตุการณ์ระหว่างสงครามมามากมาย แต่สำหรับญี่ปุ่นแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศพันธมิตรเพียงประเทศเดียวที่ยังคงดำรงเอกราชไว้ได้เหมือนกัน และภายหลังสงครามยังคงสานสัมพันธ์อันดีเช่นเดิมตลอด 68 ปี

 

 

1 หมายเหตุ  “ทาเองาตะกิโอทาเอะ ชิโนบิงาตะกิโอะชิโนบิ”