K & S Associates

川島 & スワンモントリー アソシエイツ

วิเคราะห์สถานการณ์เครษฐกิจ สังคม และการเมืองเอเชียเป็นภาษาไทยด้วยมุมมองจากญี่ปุ่น สำหรับคนไทยโดยเฉพาะ

ข้าวพม่ากระทบข้าวไทยแน่

เมื่อดูจากสถิติที่เก็บโดย FAO พบว่าปัจจุบันพม่ามีประชากรทั้งหมด 49ล้านคน โดยมีเกษตรกรประมาณ 32.4ล้านคน (คิดเป็น 66 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด) ซึ่งพอๆกับประเทศไทยสมัย พ.ศ.2523 ที่มีสัดส่วนชาวเกษตรประมาณ 64 เปอร์เซ็นต์ จุดนี้แสดงได้คร่าวๆว่าสภาพเศรษฐกิจและสังคมของพม่าคล้ายๆกับไทยเมื่อ 30 ปีที่แล้ว

                   ผลผลิตทางเศรษฐกิจหลักของประเทศพม่าคือข้าว จากข้อมูล FAO พม่าผลิตข้าวได้ทั้งหมด 3.3 ล้านตัน ซึ่งถือว่าทัดเทียมไทยที่ผลิตได้ 3.7ล้านตัน สิ่งที่ต่างกันคือข้าวที่ผลิตได้นั้นไทยส่งออกถึง 10ล้านตัน ขณะที่พม่าไม่มีการส่งออก ทำให้ปริมาณการบริโภคข้าวต่อหัวของพม่าสูงถึง 596 กก.ต่อปี ซึ่งไม่น่าจะมีใครบริโภคเยอะขนาดนั้นได้ ข้อมูลการเกษตรของพม่าจึงมีความน่าเชื่อถือน้อย เพราะขนาดสถิติประชากรก็เพิ่งได้รับการสนับสนุนจาก FAO สำรวจอย่างจริงจังเมื่อไม่นานมานี้ ผู้เขียนเองได้เดินทางไปศึกษาด้วยตนเอง (บริเวณฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองมัณฑะเลย์) พบว่าพม่ามีความหนาแน่นประชากรต่ำแต่มีพื้นที่เกษตรมากและอุดมไปด้วยทรัพยากรน้ำ ดังนั้นจึงไม่มีอุปสรรคใดๆที่จะพัฒนาการผลิตข้าว บวกกับการเมืองที่ได้เปลี่ยนแปลงและเปิดประเทศยอมรับตะวันตกมากขึ้น มีความเป็นไปได้สูงว่าจะเข้าสู่ตลาดข้าวโลกเหมือนกับเวียดนามสมัยเปิดประเทศใหม่ๆ

                   เมื่อประมาณปี พศ. 2503  ขณะที่ประเทศไทยกำลังพัฒนาส่งออกข้าวอย่างราบรื่น เวียดนามได้เปิดประเทศและส่งออกข้าวด้วยราคาที่ถูกน่าซื้อ ทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกลดฮวบฮาบ ประเทศไทยเสียกำไรจากเหตุการณ์นั้น แม้ว่าต่อมาจะดีขึ้นด้วยผลพวงของธุรกิจการเงินระหว่างประเทศก็ตาม เพราะฉะนั้นครั้งนี้หากประเทศไทยไม่เตรียมตัวรับมือด้วยนโยบายที่ชาญฉลาดและรอบคอบแล้ว เมื่อพม่าทุ่มข้าวสู่ตลาดโลกเมื่อไร ไทยย่อมพบประวัติศาสตร์ซ้ำรอบอีกเป็นแน่