K & S Associates

川島 & スワンモントリー アソシエイツ

วิเคราะห์สถานการณ์เครษฐกิจ สังคม และการเมืองเอเชียเป็นภาษาไทยด้วยมุมมองจากญี่ปุ่น สำหรับคนไทยโดยเฉพาะ

อเมริกาเสี่ยงหมุนเงินคืนพันธบัตรไม่ทัน ประเทศไทยเสี่ยงหรือไม่

รัฐสภาสหรัฐอเมริกามีการกำหนดยอดเงินคงเหลือของเงินคลังไว้เพื่อไม่ให้รัฐบาลสหรัฐฯออกพันธบัตรรัฐบาลมากเกินไป ล่าสุดมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาลได้ถึงขอบเขตที่กำหนดไว้แล้ว ถ้าไม่มีการแก้กฎหมายเสียก่อนก็จะไม่สามารถออกพันธบัตรเพิ่มได้ ทว่าการแก้กฎหมายเรื่องนี้ย่อมล่าช้าซึ่งเป็นไปได้ว่ารัฐบาลสหรัฐฯอาจออกพันธบัตรใหม่ไม่ทัน การชำระหนี้รอบนี้เท่ากับว่าอาจเป็นการ “ค้างชำระ” พันธบัตรครั้งแรกในประวัติศาสตร์อเมริกาก็ว่าได้ หากเกิดขึ้นจริงเศรษฐกิจโลกอาจเกิดความวุ่นวายยิ่งกว่าครั้ง Lehman Shock ก็เป็นได้

สาเหตุที่รัฐบาลสหรัฐฯหมุนเงินไม่ทันเกิดจากนโยบาย “โอบาม่าแคร์” ของพรรค Democrat ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าการประกันสุขภาพนี้มีไว้ประณีประนอมคนจนกับคนรวย แต่ทำให้เงินไหลออกคลังเร็วเกินไปบวกกับจำนวนเก้าอี้พรรครัฐบาลในสภามีอยู่น้อย ทำให้การเจรจาหาข้อตกลงทำได้ยาก

เมื่อเทียบอัตราส่วนของมูลค่าพันธบัตรกับ GDP ระหว่างญี่ปุ่นกับอเมริกาแล้ว อเมริกายังถือว่าน้อยกว่าญี่ปุ่นมาก ที่เป็นเช่นนี้เพราะญี่ปุ่นไม่ได้มีการกำหนดเพดานการออกพันธบัตร รัฐบาลญี่ปุ่นเริ่มออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อเศรษฐกิจไม่ใช่เพื่อสงครามครั้งแรกช่วงปี 1970 เพื่อบรรเทาปัญหา Oil Shock เท่านั้น แต่ไปๆมาๆกลายเป็นว่าออกอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ทั้งนี้เป็นเพราะว่าหากรัฐบาลใดเอาเงินเข้าคลังโดยการขึ้นภาษี ก็จะแพ้การเลือกตั้งรอบต่อไป การออกพันธบัตรเป็นทางเลือกที่สบายกว่ามาก

ในปัจจุบันประเทศไหนๆก็ออกพันธบัตรจนล้นมือแล้ว มีเพียงเยอรมันที่เกลียดการออกพันธบัตรตั้งแต่แพ้สงครามจนกลายเป็นประเทศที่มีหนี้สาธารณะน้อยกว่าหลายๆประเทศ ส่วนประเทศไทยในขณะนี้มีอัตราส่วนมูลค่าพันธบัตรต่อGDPอยู่ที่60 เปอร์เซ็นต์ซึ่งยังถือว่าน้อยอยู่ รัฐบาลไทยควรจะรักษาระดับหนี้สาธารณะนี้ไว้ให้ดี อย่าให้บวมเป็น 200เปอร์เซ็นต์เหมือนอย่างญี่ปุ่น นางสาวยิ่งลักษณ์คนสวยผู้นี้ควรจะคำนึงถึงความรู้สึกลูกหลานชาวไทยในอีก 100 ปีข้างหน้าที่ต้องมารับภาระใช้หนี้จากการตัดสินใจใช้จ่ายเงินของเธอและรัฐบาลนี้ด้วย