K & S Associates

川島 & スワンモントリー アソシエイツ

วิเคราะห์สถานการณ์เครษฐกิจ สังคม และการเมืองเอเชียเป็นภาษาไทยด้วยมุมมองจากญี่ปุ่น สำหรับคนไทยโดยเฉพาะ

เขื่อน กับ สิ่งแวดล้อม

ประเด็นเรื่องเชื่อนแม่วงก์กำลังเป็นที่ถกเถียงอย่างมากในขณะนี้ ซึ่งผู้เขียนรู้สึกได้ถึงบรรยากาศที่ต่างจากกรณีเขื่อนอื่นๆที่ผ่านมา เพราะครั้งนี้ฝ่ายคัดค้านการสร้างเขื่อนให้เหตุผลเรื่องการทำลายธรรมชาติและประสิทธิภาพในทางปฎิบัติของเขื่อน พร้อมกับตั้งข้อสังเกตุว่ารัฐบาลอาจใช้เงินภาษีที่เก็บมาอย่างไร้ประโยชน์ ในขณะที่สมัยก่อนกลุ่มผู้คัดค้านมีเพียงหมู่บ้านในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น บริเวณน้ำขังอันเนื่องจากเขื่อนเป็นต้น บรรยากาศที่เปลี่ยนไปเหล่านี้เป็นเครื่องบ่งชี้อะไรเกี่ยวกับประเทศไทย

                   ความจริงประเทศญี่ปุ่นก็เคยเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้ในช่วงปี 1990 ก่อนหน้านั้นไม่ค่อยมีชาวญี่ปุ่นออกมาคัดค้าน ประโยชน์ที่ได้รับจากการสร้างเขื่อนเพิ่มถือว่าได้คุ้มเสียเพราะยังจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของผู้คน เช่นการผลิตไฟฟ้า การชลประทานและการป้องกันภัยน้ำท่วมเป็นต้น (ข้อเสียคือสูญเสียพื้นที่ในหมู่บ้านดั้งเดิม) แต่หลังจากปี 1970 เป็นต้นมา ญี่ปุ่นผลิตข้าวได้เกินพอ และจำนวนเขื่อนก็มีมากพอที่จะเก็บกักน้ำไว้สำหรับฤดูแล้ง ประโยชน์แค่การบรรเทาอุทกภัยก็เลยไม่มีน้ำหนักเท่าใด เพราะอุทกภัยใหญ่ๆไม่ได้เกิดเป็นประจำ อย่างถี่ก็เป็นรอบ 10 ปี สาเหตุที่รัฐบาลพยายามผลักดันการสร้างเขื่อนก็คงเพราะอยากกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานเท่านั้นเอง

การที่มีกลุ่มชนที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงออกมาเดินขบวนคัดค้านเขื่อนแม่วงก์แปลว่าความจำเป็นในการสร้างเขื่อนไม่มีมากเหมือนแต่ก่อน ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยได้มีการพัฒนามาไกลแล้ว และกำลังเข้าสู่ประเทศพัฒนาแล้วในไม่ช้า การเรียกร้องให้มีการเจรจาอย่างเสรี ใช้เวลาในการหาข้อตกลงร่วมกันถือเป็นลักษณะของระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ดังนั้นประเด็นเขื่อนแม่วงก์นี้เป็นเรื่องดีที่ชี้ให้เห็นถึงการพัฒนาของประเทศไทยในปัจจุบัน