K & S Associates

川島 & スワンモントリー アソシエイツ

วิเคราะห์สถานการณ์เครษฐกิจ สังคม และการเมืองเอเชียเป็นภาษาไทยด้วยมุมมองจากญี่ปุ่น สำหรับคนไทยโดยเฉพาะ

ญี่ปุ่นได้จัดโอลิมปิกเพราะคู่แข่งพลาด

   เมื่อวานนี้ญี่ปุ่นได้ถูกเลือกให้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์เป็นครั้งที่ 2 ในปี 2020 ณ กรุงโตเกียว ท่ามกลางคู่แข่งคือเสปน (ซึ่งเคยเป็นเจ้าภาพมาแล้วที่กรุงแมดริด 1 ครั้ง ปี 1992) กับตุรกีที่เป็นตัวเต็งมาตลอดว่าจะเป็น “เจ้าภาพอิสลามคนแรก” ชาวญี่ปุ่นต่างปิติยินดีกับข่าวนี้ แม้นายกฯชินโซะ อาเบะก็ได้กล่าวว่า “ด้วยความเพียรพยายาม เราจึงได้รับเลือก” ชาวญี่ปุ่นที่มีนิสัยก้มหน้าพยายามทำงานนั้นหารู้ไม่ว่าชัยชนะครั้งนี้มีเบื้องหลังที่ซับซ้อนอยู่

           ตั้งแต่การปฎิรูปการเมืองอตาตาร์กเป็นต้นมาทำให้ตุรกีเป็นประเทศที่มีการเมืองการปกครองที่เป็นไทต่อศาสนา จึงมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างราบรื่นและรวดเร็ว GDPต่อหัวสูงถึง 1 หมื่นดอลลาร์ การเมืองก็ดูเหมือนจะไม่มีปัญหา จนกระทั่งเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาได้เกิดเหตุประท้วงรัฐบาลขึ้นที่สวนเกซีใจกลางเมืองอีสตันบูล (เมืองหลวงตุรกี) ด้วยเหตุว่านายรีดซป ตอร์ยิป เออร์โดรแกน นายกฯตุรกีได้ประกาศให้ศาสนาอิสลามกลับมามีอำนาจในการเมืองเช่นเดิม และกลับมาใช้ข้อกฎหมายหลายๆประการที่เคยยกเลิกไป ตรงกันข้ามกับประเทศอื่นๆที่เมื่อพัฒนาแล้วบทบาทของศาสนามักหายไป ชาวตุรกีที่ไม่เห็นด้วยต่างออกมาประท้วงจนทำให้เกิดจราจลในที่สุด ด้วยเหตุนี้เองผู้เขียนคิดว่าน่าจะเป็นประเด็นที่ทำให้กรรมการคัดเลือกเจ้าภาพเกิดโอนเอนใจ และพลิกการตัดสินกลางคัน เหมือนที่การเมืองตุรกีกลับลำกลางทางเช่นกัน

              การที่ตุรกีพลาดการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ การเมืองจะต้องมีเสถียรภาพด้วย ผู้คนต้องใช้เหตุผลเป็นหลัก กำลังเป็นรอง จึงจะได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศพัฒนาแล้วอย่างแท้จริง